โชว์ “อะโวคาโดตาก”สินค้าจีไอน้องใหม่ รสชาติมัน กลิ่นหอม สร้างรายได้ 1,080 ล้าน
นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รมช.พาณิชย์ เผยว่า “กระทรวงพาณิชย์มุ่งเน้นให้ความสำคัญในการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรกร โดยการส่งเสริมและคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หรือ GI เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตรที่มีความเชื่อมโยงกับแหล่งภูมิศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่น นำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ ให้กับเกษตรกรไทย ตลอดจนส่งเสริมให้มีระบบควบคุมคุณภาพสินค้าเพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค ซึ่งล่าสุดกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ประกาศขึ้นทะเบียน “อะโวคาโดตาก” เป็นสินค้า GI ลำดับที่ 4 ของจังหวัดตาก ต่อจากสินค้าครกหินแกรนิตตาก แปจ่อเขียวแม่สอด และกล้วยหอมทองพบพระ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียน GI ไปก่อนหน้านี้”
“อะโวคาโดตาก” ปลูกในเขตพื้นที่จังหวัดตาก สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงและมีพื้นที่ราบ ที่เหมาะสมต่อการปลูกต้นอะโวคาโด และยังอยู่ใกล้แหล่งน้ำสำคัญ ได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำกลอง แม่น้ำเมย คลองวังเจ้า และห้วยแม่ละเมา ทำให้มีน้ำในการเพาะปลูกตลอดปี ประกอบกับลักษณะดิน ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ระบายน้ำได้ดี ดูดซับน้ำได้ในปริมาณที่เป็นประโยชน์ต่อพืช และมีธาตุอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของอะโวคาโด ส่งผลให้เนื้ออะโวคาโดตากมีลักษณะเหนียว รสชาติมัน มีกลิ่นหอม ซึ่งเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของอะโวคาโดตากคำพูดจาก ทดลองสล็อต ใหม่ล่าสุด
ด้าน นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กล่าวว่า “อะโวคาโดตากถือเป็นผลผลิตที่มีคุณภาพดี ได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคอย่างแพร่หลาย จนมีคำกล่าวว่า “หากเป็นอะโวคาโดต้องอะโวคาโดจังหวัดตาก อำเภอพบพระ” ประกอบกับหน่วยงานในท้องถิ่นให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและประชาสัมพันธ์สินค้าเกษตรของจังหวัดเป็นอย่างดี โดยมีการจัดงาน “วันเกษตรพบพระ” ขึ้นเป็นประจำทุกปี ส่งผลให้อะโวคาโดตากเป็นที่รู้จักแพร่หลาย สร้างรายได้ให้กับจังหวัดตากและเกษตรกรกว่า 1,080 ล้านบาทต่อปีคำพูดจาก ทดลองปั่นสล็อต
ทั้งนี้ หลังจากขึ้นทะเบียน GI แล้ว กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะเดินหน้าผลักดันการจัดทำระบบควบคุมคุณภาพสินค้า และสนับสนุนช่องทางการตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และสร้างรายได้ให้เกษตรกรในชุมชนอย่างยั่งยืน โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา ขอเชิญชวนทุกท่านติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหว และร่วมสนับสนุนผู้ประกอบการสินค้า GI ได้ที่ Facebook Page : GI Thailand หรือโทรฯ สายด่วนกรมทรัพย์สินทางปัญญา 1368