นายวีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู รองปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ยอดใช้ไฟฟ้าสูงสุด (พีค) ของปี 66 ช่วงหน้าร้อนนี้จะพุ่งสูงสุดในรอบ 3 ปี หรือสูงกว่า 30,936 เมกะวัตต์ เนื่องจากไทยเปิดเปิดประเทศเต็มรูปแบบ ส่งผลให้เศรษฐกิจเติบโตจต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นด้วย โดยกระทรวงพลังงานมั่นใจว่า ไทยมีไฟฟ้าเพียงพอรองรับความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นแน่นอน เพราะสำรองไฟฟ้าของไทยสูงถึง 30% (จากปกติควรอยู่ที่ระดับ 15%) คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
“จากการศึกษาข้อมูลพบว่า สำรองไฟฟ้าของไทยจะเริ่มลดลง หลังจากความต้องการใช้ปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า หรืออีวีมากขึ้น และจะส่งผลให้สำรองไฟฟ้ากลับสู่ภาวะปกติที่ 15% ในปี 68 โดยสิงคโปร์ มาเลเซีย ก็เคยมีสำรองไฟที่สูง เพราะผลกระทบจากโควิด-19 ขณะนี้ก็เริ่มทยอยปรับลดลงโดยเฉพาะสิงคโปร์ที่ลงเร็ว เพราะมีแผนพัฒนาดาต้าเซ็นเตอร์ ทำให้ความต้องการใช้ไฟสูง แต่วันนี้ทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย เองก็ต้องการใช้พลังงานสะอาดเพิ่มขึ้น ดังนั้นสำรองไฟจึงไม่ได้ตั้งไว้ที่ 15% เขามองกันที่เฉลี่ย 27-30% เพราะพลังงานหมุนเวียนผลิตได้ไม่สม่ำเสมอ ขณะที่สำรอง 15% ใช้นานแล้ว และหลักการก็ใช้กับโรงไฟฟ้าฐานทีเป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ผลิตไฟสม่ำเสมอ” นายวีรพัฒน์ กล่าว
ทั้งนี้ จากเศรษฐกิจที่ทยอยฟื้นตัว การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า หรืออีวี มากขึ้น ในระยะต่อไปจะส่งผลให้สำรองไฟฟ้าของไทยกลับสู่ภาวะปกติที่ 15% ได้ในปี 68 แต่ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ พ.ศ. 2566-2580 หรือพีดีพี 2023 ฉบับใหม่ ที่กำลังจัดทำอยู่ จะยกเลิกการพิจารณาปริมาณสำรองไฟฟ้าของประเทศ (Reserve Margin) และเปลี่ยนเป็นการใช้เกณฑ์ดัชนีความเชื่อถือได้ หรือ Loss of Load Expectation ( LOLE) แทน โดยเกณฑ์ LOLE ดังกล่าวจะวัดจากการยอมรับให้ไฟฟ้าดับได้เพียง 0.7 วันต่อปี หรือ ไม่เกิน 24 ชั่วโมงต่อปี ที่เหมาะสมกับประเทศไทย ที่จะเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเข้าระบบมากขึ้น คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง