ขณะเดียวกัน ชาติพันธมิตรตะวันตกโดยเฉพาะพันธมิตรรายสำคัญอย่างสหรัฐฯ ยังไม่สามารถส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ระลอกใหม่ให้แก่ยูเครนที่กำลังขาดแคลนกระสุนและขีปนาวุธพิสัยไกลได้ ขณะที่ชาติยุโรปบางส่วนพยายามยกระดับการสนับสนุนอีกครั้ง

เหล่านี้ทำให้รัสเซียกำลังอยู่ในจุดได้เปรียบในสงครามล่าสุดเมื่อวานนี้ รัสเซียได้ออกมาเผยแพร่ภาพการกวาดล้างเมืองอัฟดีฟกา หลังได้รับชัยชนะครั้งสำคัญไปเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา

ยูเครน-รัสเซีย ส่งสัญญาณสู้รบเดือดรับปี 2024

ยูเครน เสีย “อัฟดีฟกา” หลังต้านทานหลายเดือน

วานนี้ (22 ก.พ.) กระทรวงกลาโหมรัสเซียได้ออกมาเผยแพร่วิดีโอ ทหารรัสเซียขณะที่กำลังดำเนินปฏิบัติการกวาดล้างเมืองอัฟดีฟกาในแคว้นโดเนตสก์ของยูเครน จากภาพจะเห็นว่า ทหารรัสเซียกำลังเดินตรวจตราไปตามซากอาคารบ้านเรือนต่างๆ ที่ผ่านการต่อสู้มาอย่างหนักหน่วง พร้อมแสดงสถานที่ซ่อนที่ฝ่ายรัสเซียใช้ในการบรรจุกระสุนระหว่างต่อสู้

อีกทั้งยังนำอาวุธและกระสุนที่ยึดมาได้จากทหารยูเครนมาแสดงให้เห็น ทั้งนี้ สำนักข่าวรอยเตอร์สไม่สามารถยืนยันวัน เวลา และสถานที่ที่บันทึกภาพไว้ได้ การเผยแพร่ภาพการกวาดล้างอัฟดีฟกาเกิดขึ้นหลังจากที่กองทัพรรัสเซียออกมาประกาศว่าสามารถยึดและควบคุมพื้นที่ทั้งหมดในอัฟดีฟกาได้สำเร็จเมื่อวันเสาร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา รัสเซียเปิดปฏิบัติการบุกโจมตีที่นี่อย่างดุเดือดเพื่อรุกคืบต่อไปในพื้นที่แคว้นโดเนตสก์และเพื่อไม่ให้ยูเครนยึดแคว้นโดเนตสก์กลับคืนได้ กองทัพยูเครนสามารถต้านทานการบุกของทหารรัสเซียมาได้ตลอด จนกระทั่งเข้าสู่ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ปี 2024 ทหารยูเครนเผชิญปัญหาขาดแคลนกระสุนและอาวุธยุทโปกรณ์อย่างหนัก ส่วนกำลังพลที่กรำศึกหนักมาเป็นเวลาเกือบ 2 ปีก็อ่อนล้าและไม่เพียงพอ

ผู้บัญชาการทหารสูงสุดยูเครน จึงได้สั่งถอนทหาร เพื่อหลีกเลี่ยงการปิดล้อมของกองทัพรัสเซียและถอยกลับไปตั้งรับบริเวณแนวป้องกันที่พร้อมกว่า

ขณะที่ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซียก็ได้ออกมาประกาศว่า จะรุกคืบเพื่อกดดันยูเครนต่อหลังจากประสบความสำเร็จในสมรภูมิที่อัฟดีฟกา หลายฝ่ายมองว่านี่เป็นชัยชนะครั้งสำคัญของรัสเซียในรอบ 9 เดือน

คาดการณ์กันว่า เป้าหมายต่อไปของรัสเซียอาจจะเป็นเมืองเซลิดอฟ ซึ่งห่างจากอัฟดีฟกาประมาณ 30 กิโลเมตร เมืองชาร์สิฟ ยาร์ ซึ่งอยู่ไม่ไกลกัน และเมืองครามาทอสก์ นอกจากนี้ ยังมีสัญญาณว่ารัสเซียอาจริเริ่มปฏิบัติการโจมตีที่หมู่บ้านโรโบตือนีในแคว้นซาโปริซเซียทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของยูเครนด้วย ซึ่งที่นี่เคยเป็นแนวรบหลักของยูเครนในปฏิบัติการโต้กลับที่สิ้นสุดลงเมื่อช่วงปลายปีที่แล้ว

สาเหตุหลักส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้ยูเครนกลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบรัสเซียในระยะหลังคือ การขาดแคลนกระสุนปืน รวมถึงขีปนาวุธที่ใช้ในการโจมตีระยะไกล ยูเครนเผชิญภาวะขาดแคลนอาวุธมาช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้ว หลังพันธมิตรรายใหญ่ที่สนับสนุนด้านอาวุธแก่ยูเครนมาตลอดอย่างสหรัฐฯ ล่าช้าในการอนุมัติความช่วยเหลือระลอกใหม่

ด้าน ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ผู้นำยูเครน ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสถานี Fox News ของสหรัฐฯ เกี่ยวกับร่างกฎหมายงบประมาณความช่วยเหลือเพิ่มเติม ซึ่งรวมเงินสนับสนุนยูเครนมูลค่า 6.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ไว้ด้วย

ร่างฉบับนี้ผ่านการพิจารณาของวุฒิสภาไปแล้วแต่ก่อนที่จะส่งให้ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐฯ ลงนามเพื่อตราออกมาเป็นกฎหมายได้ ร่างฉบับนี้จะต้องผ่านการลงมติเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรก่อน ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเป็นไปอย่างยากลำบาก เนื่องจาก สส.พรรครีพับลิกันที่ไม่สนับสนุนการส่งอาวุธให้แก่ยูครนถือเสียงข้างมากอยู่ในสภา

ความชะงักงันดังกล่าวจึงกลายเป็นประเด็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่ยูเครนกำลังเป็นฝ่ายเสียเปรียบจากอาวุธที่ไม่เพียงพอ โดยประธานาธิบดีเซเลนสกีระบุต่อผู้สื่อข่าวของ Fox News ว่า ยูเครนจะมีชีวิตรอดต่อไปได้โดยปราศจากการสนับสนุนจากสหรัฐฯ ก็จริง แต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะรอด

ยิ่งไปกว่านั้น ประธานาธิบดีเซเลนสกียังระบุว่า โศกนาฏกรรมจะตามมา หากสภาคองเกรสไม่สามารถผ่านความช่วยเหลือให้แก่ยูเครนได้ และนี่จะไม่ใช่เพียงแค่โศกนาฏกรรมสำหรับชาวยูเครนเท่านั้น แต่รวมถึงยุโรปด้วย เนื่องจากหากไม่สนับสนุนยูเครนจนเอาชนะรัสเซียได้ รัสเซียจะไม่หยุดเพียงแค่ยูเครนเท่านั้น แต่จะบุกต่อไปยังประเทศยุโรปตะวันออกอื่นๆ

นอกจากนี้ ประธานาธิบดีเซเลนสกียังเรียกร้องให้สหรัฐฯ มอบขีปนาวุธพิสัยไกล อย่างเช่น แอคแทค-เอ็มส์ (ATACMS) ให้แก่ยูเครนด้วย ก่อนหน้านี้ นี่เป็นขีปนาวุธพิสัยไกลที่สหรัฐฯ ลังเลอย่างมากที่จะส่งให้แก่ยูเครน เนื่องจากมีพิสัยทำการไกลถึง 300 กิโลเมตร ซึ่งสามารถโจมตีลึกเข้าไปในแผ่นดินรัสเซียได้ แต่สุดท้ายก็ตัดสินใจส่งให้แก่ยูเครนเมื่อปลายปีที่แล้ว

นอกเหนือจากความล่าช้าของสหรัฐฯ ในการอนุมัติความช่วยเหลือให้แก่ยูเครนแล้ว อีกสิ่งที่เป็นประเด็นอย่างมากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาคือ เยอรมนีจะอนุมัติการส่งขีปนาวุธร่อน ‘ทอรัส’ ให้แก่ยูเครนหรือไม่ หลังภายในรัฐบาลเยอรมนีเห็นแย้งกันมาหลายเดือน

วานนี้ เป็นวันที่บุนเดสทากหรือรัฐสภาเยอรมนีอภิปรายกันอย่างดุเดือด สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากจะมีการพิจารณามติและลงคะแนนเสียงว่า เยอรมนีจะส่งขีปนาวุธร่อน ‘ทอรัส’ ให้แก่ยูเครนหรือไม่

ทอรัส เป็นขีปนาวุธร่อนที่ผลิตโดยความร่วมมือระหว่างบริษัทสัญญาติเยอรมันและสวีเดน มีพิสัยทำการไกลมากถึง 500 กิโลเมตร คุณสมบัติพิเศษคือมีความแม่นยำสูงและสามารถเจาะทะลุทะลวงเป้าหมายที่มีเกราะกำบังหนาแน่นได้

มติแรกที่รัฐสภาเยอรมนีพิจารณามาจากพรรคฝ่ายค้านอย่างพรรคซีดียู (CDU) โดยญัตติที่เสนอระบุอย่างเจาะจงว่า “ให้เยอรมนีส่งขีปนาวุธทอรัสแก่ยูเครน” แต่ถูกโหวตคว่ำไปด้วยคะแนน 182 ต่อ 48 หลังจากมติคว่ำไป มารี-อักเนส ชตราค-ซิมเมอร์มันน์ โฆษกนโยบายด้านกลาโหมพรรคเอฟดีพี ก็ได้ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลยอมตัดสินใจส่งทอรัสให้ยูเครน

จากนั้น พรรคร่วมรัฐบาลระหว่างพรรคเอสพีดี (SPD) พรรคกรีน และพรรคเอฟดีพี (FDP) ได้เสนอร่างที่เรียกร้องอย่างกว้างๆ ว่า ให้ส่งเยอรมนี “ระบบอาวุธระยะไกลและเครื่องกระสุนที่จำเป็นเพิ่มเติม” ให้แก่ยูเครนและผ่านเป็นมติออกไปที่คะแนน 382 ต่อ 284

อย่างไรก็ตาม ประเด็นอยู่ที่คำว่า “ระบบอาวุธระยะไกล” เนื่องจากภายในพรรคร่วมรัฐบาลตีความข้อความดังกล่าวไม่ตรงกันว่า นี่หมายถึงขีปนาวุธทอรัสหรือไม่ โดยพรรคกรีนและพรรคเอฟดีพีมองว่าควรหมายรวมถึงทอรัสด้วย แต่พรรคเอสพีดี ซึ่งเป็นพรรคแกนนำรัฐบาลและเป็นพรรคของโอลาฟ ชอลซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ปฏิเสธการตีความเช่นนี้

ทั้งนี้ แม้มติดังกล่าวจะเป็นการส่งกระสุนเพิ่มเติมให้แก่ยูเครน แต่ก็ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าขีปนาวุธพิสัยไกลตามที่ระบุในญัตติคือขีปนาวุธชนิดใด ทั้งนี้ เยอรมนีคือชาติที่ส่งความช่วยเหลือให้แก่ยูเครนมากที่สุดเป็นอันดับสองรองจากสหรัฐฯ

สาเหตุหนึ่งที่ชาติตะวันตกค่อนข้างลังเลที่จะส่งขีปนาวุธพิสัยไกลให้แก่ยูเครน เนื่องจากเกรงว่ายูเครนจะใช้โจมตีเข้าไปในแผ่นดินรัสเซีย จนนำมาสู่การยกระดับความรุนแรงของสงคราม

ขณะที่ในช่วงระยะหลังที่ผ่านมา รัสเซียออกมาแสดงท่าทีที่มั่นใจและส่งสัญญาณว่าจะรุกทำสงครามต่อบ่อยครั้งขึ้นหลังกลายเป็นฝ่ายได้เปรียบล่าสุด ประธานาธิบดีรัสเซียได้ออกมาระบุว่าอุตสาหกรรมอาวุธของรัสเซียสามารถผลิตอาวุธและส่งให้แก่กองทัพได้เพิ่ม

ด้านประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ได้ออกมาแถลงเนื่องในวัน ‘ผู้ปกป้องชาติแห่งมาตุภูมิ’ โดยเปิดเผยว่า ตลอดช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา รัสเซียสามารถยกระดับกำลังการผลิตอาวุธหลากหลายชนิดและส่งมอบให้แก่ทหาร ไม่ว่าจะเป็นขีปนาวุธความแม่นยำสูง ปืนใหญ่ หรือรถหุ้มเกราะ นอกจากนี้ ประธานาธิบดีปูตินยังสัญญาด้วยว่า จะทำให้แน่ใจว่ากองทัพรัสเซียจะมีอาวุธเพียงพอ และพัฒนากองทัพให้ทันสมัย นี่เป็นสัญญาณที่ชัดเจนว่า ประธานาธิบดีปูตินจะไม่ถอยจากสงครามในยูเครนอย่างแน่นอนคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

ในช่วงปีแรกของสงครามยูเครน รัสเซียเผชิญปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วนต่างๆ ในการผลิตอาวุธ เนื่องจากมาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันต อย่างไรก็ตาม มาตรการบางส่วนยังมีช่องว่างที่ทำให้รัสเซียยังสามารถนำเข้าชิ้นส่วนจากบริษัทสัญชาติตะวันตกได้ พร้อมๆ กับการนำเข้าอาวุธจากพันธมิตรอย่างอิหร่านและเกาหลีเหนือด้วย ล่าสุด สหรัฐฯ ได้เตรียมออกมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียอีกครั้ง โดยมุ่งเป้าไปที่มากกว่า 500 เป้าหมายที่เกี่ยวพันกับอุตสาหกรรมผลิตอาวุธของรัสเซีย

วันนี้ตามเวลาท้องถิ่น แวลลี อเดเยโม ผู้ช่วยรัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ได้เปิดเผยต่อสำนักข่าวรอยเตอร์สว่า สหรัฐฯ เตรียมจะประกาศมาตรากรคว่ำบาตรระลอกใหม่ออกมา โดยเป็นความร่วมมือร่วมกับหลายประเทศ

เป้าหมายที่มุ่งคว่ำบาตรก็คือ อุตสาหกรรมทางทหารของรัสเซียรวมถึงบริษัทในประเทศที่สามที่เปิดช่องทางให้รัสเซียเข้าถึงอาวุธได้ โดยเป็นไปเพื่อป้องกันไม่ให้รัสเซียเข้าถึงสินค้าที่จำเป็นในการผลิตอาวุธ และทำให้รัสเซียไม่สามารถสร้างรายได้จากสงครามและนำมาประคองเศรษฐกิจได้

ปฏิทินวันพระ 2567 เช็กวันสำคัญทางศาสนา-วันมาฆบูชา ตรงกับวันที่เท่าไร

“เนย ปภาดา” ประกาศเลิกสามี ยุติชีวิตคู่หลังแต่ง 2 ปี

เปิดภาพเรือหลวงสุโขทัย ไทย-สหรัฐฯ ปฏิบัติค้นหา-ปลดวัตถุอันตราย